TPDPA discussed with the German-Thai Chamber of Commerce: Elevating Personal Data Protection Standards to an International Level

On December 2, 2024, Mr. Sukris Koyakradej Ans Sukris Koyakradej Secretary-General and Head of the International Relations Committee, together with Ms. Duangdao Samnongsuk, Board Member and Head of the International Relations Committee of the TPDPA, met with Dr. Roland Wein, Executive Director, and Ms. Supin Praymee, General Affairs Manager of the German-Thai Chamber of Commerce.) The meeting focused on exchanging perspectives and strategies regarding personal data protection.
 
Additionally, discussions included the potential for co-hosting training sessions aimed at fostering knowledge, understanding, and awareness of personal data protection standards in Thailand.
สิทธิมนุษยชน AI

สิทธิมนุษยชนในยุค AI: เมื่อความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพถูกท้าทาย

เมื่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แม้จะมอบความสะดวกสบายและประสิทธิภาพที่ไม่เคยมีมาก่อนให้กับเรา แต่ก็มาพร้อมกับคำถามสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่กำลังถูกท้าทาย โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง Artificial Intelligence (AI) มีความสามารถมากขึ้น มีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง จนสามารถนำมาใช้กันได้อย่างกว้างขวาง 

วันนี้ทุก ๆ ธุรกิจไม่ว่าจะขายสินค้าหรือบริการต่างมีความต้องการที่จะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ด้วยเหตุผลต้องการสร้างและเพิ่มผลกำไรขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐเอง แม้มีข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนอยู่แล้ว แต่ก็ต้องการข้อมูลของประชาชนเพิ่มมากขึ้นเพื่อการวางแผน การจัดการและการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งการทำให้ต้องมีเครื่องมือที่มาช่วยในการจัดการกับข้อมูล และความต้องการของหน่วยงาน เทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง AI และ Big Data จึงกลายเป็นคำตอบของหน่วยงานเหล่านี้

ภายใต้ความสะดวกสบายจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มี AI เป็นตัวขับเคลื่อน ประชาชนและผู้บริโภคต้องแลกมาด้วยความเป็นส่วนตัว เช่น ความสะดวกที่มาพร้อมกับการเฝ้าติดตาม แอปพลิเคชันที่แนะนำร้านอาหาร เพลง หรือสินค้าที่ “ตรงใจ” เราที่สุด เพราะวิเคราะห์พฤติกรรมของเราอย่างละเอียด การบริการที่เป็นส่วนตัวแต่แลกมาด้วยข้อมูลชีวิต การต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวจำนวนมาก และความปลอดภัยที่มาพร้อมการถูกจับตามอง เมื่อกล้องวงจรปิดอัจฉริยะที่ใช้ระบบจดจำใบหน้า แม้จะเพิ่มความปลอดภัย แต่ก็หมายถึงการถูกติดตามทุกย่างก้าว

ข้อมูลส่วนบุคคล คือ สินทรัพย์ล้ำค่าในยุค AI เพราะข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเก็บรวบรวมมีหลากหลายระดับ ข้อมูลพฤติกรรมออนไลน์ การค้นหาข้อมูล การกดไลก์และแชร์โพสต์ ประวัติการช้อปปิ้ง เส้นทางการเดินทาง ข้อมูลละเอียดอ่อน ประวัติสุขภาพ ความเชื่อทางศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เราให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งฟรีและจ่ายเงินเพื่อแลกกับสินค้าหรือบริการนั้น 

เมื่อขอบเขตของการ AI ไม่ได้ใช้เพื่อการเก็บข้อมูลพื้นฐาน หรือวิเคราะห์ในระดับมหภาค แต่นำมาวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจประชาชนและผู้บริโภคในระดับบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ทำให้เข้าใจรูปแบบการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์กับผู้อื่น สภาวะทางอารมณ์แนวโน้มการตัดสินใจ ทำให้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเราในรูปแบบที่แนบเนียน การสร้างความเชื่อและทัศนคติ แสดงเนื้อหาที่เลือกสรรตามความชอบ สร้าง Echo Chamber ที่ตอกย้ำความเชื่อเดิม นำเสนอโฆษณาที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ การควบคุมทางสังคม ระบบให้คะแนนความน่าเชื่อถือทางสังคม การตรวจจับและควบคุมการแสดงออกทางความคิด การติดตามพฤติกรรมในที่สาธารณะ

ผลกระทบที่มองไม่เห็น เมื่อประชาชนและผู้บริโภคอาจจะสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตในหลายด้าน การถูกเลือกปฏิบัติจากการวิเคราะห์ข้อมูล การถูกจำกัดโอกาสโดยไม่รู้ตัว ความเครียดจากการถูกติดตามตลอดเวลา การสูญเสียอิสระในการแสดงความคิดเห็น รวมทั้งการถูกหน่วยงานเอกชนและรัฐ นำข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปใช้เพื่อพัฒนา AI โดยที่เราไม่รู้ และไม่ถูกต้อง ผ่านบริการของผู้ให้บริการ AI ที่มีอยู่ในรูปแบบฟรีหรือจ่ายเงิน โดยไม่ระแวดระวังต่อการหลุดรั่วข้อมูลส่วนบุคคลออกไปมากยิ่งขึ้น

การปกป้องสิทธิในยุค AI จึงจำเป็นต้องมีกรอบกฎหมายที่เข้มงวด ซึ่งในสหภาพยุโรป นอกจากกฎหมาย GDPR ที่ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว ยังมีการออกกฎหมายกำกับดูแล AI เพิ่มขึ้นด้วย ส่วนในประเทศไทยในแม้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA แต่ยังไม่มีการส่งสัญญาณเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลกับ AI ออกมา แม้ว่าจะมีการออกแนวทางการกำกับ AI โดยหน่วยงานอย่างสำนักงานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือ ETDA แต่ก็เป็นแนวทางที่ไม่ได้มีผลผูกพันทางด้านกฎหมายกับองค์กรต่าง ๆ ซึ่งหมายความว่าองค์กรต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนาหรือนำ AI มาใช้ในองค์กรต้องเพิ่มความตระหนัก และความระแวดระวังในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ AI รวมทั้งการตรวจสอบและประเมินผลกระทบจากการพัฒนาหรือการใช้ AI ที่มีต่อประชาชนหรือผู้บริโภค

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้ประชาชนเรื่องผลกระทบของ AI ควบคู่กับประโยชน์ สร้างความตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูลส่วนบุคคล และเสริมสร้างทักษะการปกป้องตนเอง เช่น การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว การใช้เครื่องมือปกป้องข้อมูล และการจัดการความยินยอมอย่างเหมาะสม

การสร้างสมดุลระหว่างประโยชน์ของ AI และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นความท้าทายสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไข เพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีเป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบและเคารพสิทธิของประชาชน

ความเป็นส่วนตัวในดิจิทัล

สิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล: มุมมองด้านสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

“เราไม่เคยอยู่ตามลำพังในโลกดิจิทัล” เคยรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกจับจ้อง และเฝ้าติดตามตลอดเวลาไหม รู้สึกว่าสิ่งที่เราคิด สิ่งที่เขียน สิ่งที่พูดและสิ่งที่ทำ ล้วนแต่มีคนรู้ เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม มาทบทวนเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัลกันครับ

สิทธิความเป็นส่วนตัวจากอดีตเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 สหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งข้อ 12 ได้รับรองสิทธิความเป็นส่วนตัวไว้อย่างชัดเจน แต่ในเวลานั้น ใครจะคาดคิดว่า 75 ปีต่อมา โลกจะเปลี่ยนแปลงไปมากจนการละเมิดความเป็นส่วนตัวกลายเป็นเรื่องง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัส จากยุคที่การละเมิดความเป็นส่วนตัวจำกัดอยู่ที่การแอบฟัง แอบอ่านจดหมาย หรือสอดส่องทางกายภาพ มาสู่ยุคที่ข้อมูลส่วนตัวของเราถูกเก็บรวบรวมและวิเคราะห์อย่างละเอียดผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล

เมื่อทุกย่างก้าวถูกจับตามอง ในแต่ละวัน เราทิ้งร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint) ไว้มากมาย เช่น การใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การโพสต์และแชทบนโซเชียลมีเดีย จะบ่งบอกความสนใจและความสัมพันธ์ของเรากับสิ่งต่าง ๆ การช้อปปิ้งออนไลน์จะเผยพฤติกรรมการใช้จ่ายและรสนิยมของเรา การใช้แอปพลิเคชัน เปิดเผยกิจวัตรและไลฟ์สไตล์ของเรา ทุกการเดินทางและตำแหน่งที่อยู่ จะมี GPS ซึ่งจะเปิดเผยเส้นทางการเดินทาง หรือการเช็คอินสถานที่ จะเปิดเผยสถานที่ที่สนใจ การใช้บริการขนส่งผ่านแอป และการบันทึกเส้นทางประจำ ส่วนการค้นหาและการเรียนรู้ จะบันทึกประวัติการค้นหาบ่งบอกความสนใจและความกังวลของเรา การดูวิดีโอออนไลน์สะท้อนความชอบและทัศนคติต่าง ๆ และการอ่านข่าวสารแสดงมุมมองทางการเมืองและสังคม

กฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของคนไทย หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยให้สิทธิสำคัญแก่เจ้าของข้อมูล ตั้งแต่สิทธิพื้นฐาน ได้แก่ สิทธิในการรับรู้ (Right to be Informed) เพื่อทราบว่าใครเก็บข้อมูลอะไรไว้บ้าง สิทธิในการเข้าถึง (Right of Access) เพื่อขอดูข้อมูลของตนเองได้ และสิทธิในการแก้ไข (Right to Rectification) เพื่อแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ขณะเดียวกัน PDPA ยังให้สิทธิในการควบคุม ได้แก่ สิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten)เพื่อขอลบข้อมูลที่ไม่ต้องการ สิทธิในการคัดค้าน (Right to Object) เพื่อปฏิเสธการใช้ข้อมูลได้ และสิทธิในการเคลื่อนย้ายข้อมูล (Right to Data Portability) เพื่อโอนข้อมูลไปที่อื่นได้

แม้ว่าจะมี PDPA แต่การละเมิดสิทธิของคนไทยและการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทยจากองค์กรของรัฐและเอกชนขนาดใหญ่ ยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น โดยไม่มีแนวโน้มที่ลดลง โดยเฉพาะการละเมิดความเป็นส่วนตัว จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในชีวิตของผู้คนจำนวนมาก เพราะเกิดการสวมรอยทำธุรกรรมทางการเงิน การใช้ข้อมูลเพื่อหลอกลวงญาติและคนใกล้ชิด รวมทั้งการนำข้อมูลไปใช้ในการก่ออาชญากรรมอื่น ๆ

แต่เมื่อเทคโนโลยี AI มีความสามารถเพิ่มมากขึ้นและถูกนำมาใช้ได้ง่ายขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลง ซึ่งทำให้ AI มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติ แต่ก็กำลังสร้างความท้าทายใหม่ ๆ ในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว เพราะ AI จะสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมและทำนายการตัดสินใจได้แม่นยำขึ้น จะมีการนำระบบจดจำใบหน้าและท่าทางถูกใช้ในที่สาธารณะมากขึ้น มีการใช้กล้องวงจรปิดที่มี AI วิเคราะห์พฤติกรรม  มีการใช้ AI ในระบบติดตามการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ซับซ้อนขึ้น มีการใช้ AI การวิเคราะห์เสียงและการสนทนาแบบเรียลไทม์ หรือแม้แต่การใช้ AI สร้าง Deep Fake ที่สมจริงจนแยกแยะได้ยาก

  แนวทางปกป้องความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล สำหรับบุคคล การป้องกันเบื้องต้น เช่น การตรวจสอบและปรับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในทุกแพลตฟอร์ม การใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อนและเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ เปิดการยืนยันตัวตนสองชั้นในทุกบริการที่สำคัญ ส่วนการใช้งานออนไลน์อย่างปลอดภัย ควรระมัดระวังการแชร์ข้อมูลส่วนตัวบนโซเชียลมีเดีย ระวังในการเชื่อมต่อเครือข่ายสาธารณะ และหมั่นตรวจสอบประวัติการทำธุรกรรมและรายงานเครดิต นอกจากนี้ควรหมั่นศึกษาและทำความเข้าใจนโยบายความเป็นส่วนตัวก่อนใช้บริการ ระวังการหลอกลวงทางออนไลน์และการแอบอ้างตัวตน และรายงานเมื่อพบการละเมิดความเป็นส่วนตัว ขณะที่องค์กรต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลอย่างเคร่งครัด โดยให้ความสำคัญกับส่งเสริมให้บุคลากรขององค์กรตระหนักถึงสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งมีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่เหมาะสม

ความเป็นส่วนตัวคือรากฐานของเสรีภาพ ในวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคมนี้ เราต้องตระหนักว่าสิทธิความเป็นส่วนตัวไม่ใช่เพียงเรื่องของปัจเจกบุคคล แต่เป็นรากฐานสำคัญของสังคมประชาธิปไตย การปกป้องความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัลจึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วน เพราะในโลกที่ข้อมูลคือพลัง การปกป้องความเป็นส่วนตัวคือการปกป้องเสรีภาพของเราทุกคน

TPDPA x PDPA Thailand ส่งเสริมคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย มอบคอร์สเรียนออนไลน์สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ

ครบรอบประกาศใช้ 5 ปี บังคับใช้ 2 ปี พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สมาคม TPDPA ร่วมกับ PDPA Thailand ผู้ให้บริการครบวงจรด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  มอบหลักสูตรอบรมออนไลน์แก่มหาวิทยาลัยและคณะนิติศาสตร์ทั่วประเทศ

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือที่รู้จักกันในนาม PDPA คือกฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย ถูกประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 และขยายเวลาบังคับใช้มาหลายครั้ง จนได้ฤกษ์บังคับใช้อย่างเป็นทางการทั้งฉบับในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 หรือเมื่อประมาณ 2 ปีกว่า ๆ ที่ผ่านมา องค์กรทั่วไทยทั้งรัฐและเอกชนมีความตื่นตัวเพิ่มมากขึ้น มีการปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้สอดคล้องกับกฎหมายและมีความต้องการแรงงานที่มีองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection) เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

 

สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) ตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของกฎหมาย PDPA ที่เมื่อดำเนินการอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้วจะส่งเสริมให้องค์กรทันยุคทันสมัย เท่าทันโลกาภิวัฒน์ ตลอดจนความต้องการแรงงานที่มีความรู้ด้านนี้เพื่อผลักดันให้ตรงกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ร่วมกับ PDPA Thailand ผู้ให้บริการด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ บริการให้คำปรึกษา (Consulting) สอบทาน (Auditing) ฝึกอบรมภายในบริษัท (Inhouse Training) หลักสูตรเปิดให้แก่ผู้ที่สนใจ (Public Training) ฯลฯ ซึ่งมีความเข้าใจต่อสถานการณ์และมีพันธกิจที่ตรงเป็นหนึ่งเดียวกันกับสมาคมฯ

 

ขอมอบหลักสูตรพื้นฐานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA (Fundamental of Personal Data Protection Act) ในรูปแบบ E-learning อบรมผ่านระบบออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา แก่มหาวิทยาลัยและคณะนิติศาสตร์ทั่วประเทศ เพื่อให้บุคลากรภาคการศึกษามีความรู้ความเข้าใจและนำหลักสูตรที่ได้รับไปถ่ายทอดความรู้นี้แก่นักศึกษาของสถาบัน  สามารถบ่มเพาะนักศึกษาให้พร้อมก้าวสู่ตลาดแรงงานได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า “PDPA-5n2” ระยะเวลาโครงการ 1 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2567

 

สถานศึกษาและคณะนิติศาสตร์ทั่วประเทศให้การตอบเป็นอย่างดี โดยจากสถิติการตอบรับที่เกิดขึ้นพบว่า กลุ่มมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัย วิทยาลัย ราชวิทยาลัย และสถาบัน) ทั้งรัฐและเอกชนให้การตอบรับมาสูงถึง 32 แห่ง และคณะนิติศาสตร์ให้การตอบรับกลับมาอีก 7 แห่ง ทั้งนี้ TPDPA และ PDPA Thailand ได้ส่งมอบหลักสูตรดังกล่าวให้ทางมหาวิทยาลัยและคณะนิติศาสตร์ได้นำไปใช้งานและเผยแพร่ในองค์กรแล้ว ด้วยหวังเป็นอย่างยิ่งถึงประโยชน์ด้านการปลูกฝังแนวความคิดและแนวปฏิบัติด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้แข็งแรงจากรากฐานการศึกษาที่ทั่วถึง และท้ายที่สุดก้าวข้ามกลายเป็นวัฒนธรรมและจริยธรรมภายในสังคม

การเตรียมเอกสารสำหรับการกรอกข้อมูลของ DPO เพื่อการกำกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับหน่วยงานที่จัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ตามมาตรา 41 (2) และ (3) ตามแบบตรวจแนะนำฯ ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)

📣 สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) ร่วมกับ PDPA Thailand และ DBC Group เชิญชมการนำเสนอ

    📍 “การเตรียมเอกสารสำหรับการกรอกข้อมูลของ DPO เพื่อการกำกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับหน่วยงานที่จัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ตามมาตรา 41 (2) และ (3) ตามแบบตรวจแนะนำฯ ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)”

ผู้ร่วมนำเสนอ
     ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร นายกสมาคม สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดีบีซี กรุ๊ป จำกัด (DBC Group) และผู้ก่อตั้ง PDPA Thailand

     อ.สุกฤษ โกยอัครเดช เลขาธิการและประธานฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปรึกษาและสอบทาน บริษัท ดีบีซี กรุ๊ป จำกัด (DBC Group)

      อ.ณัฏฐ์ ธนวนกุล กรรมการและประธานฝ่ายพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) และที่ปรึกษาและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก PDPA Thailand

     อ.มยุรี ชวนชม กรรมการและประธานฝ่ายส่งเสริม การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และที่ปรึกษาและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก PDPA Thailand

     อ.ดวงดาว สำนองสุข กรรมการและประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และที่ปรึกษาและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก PDPA Thailand

    อ.ทรงพล หนูบ้านเกาะ กรรมการและนายทะเบียน และที่ปรึกษาและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก PDPA Thailand

💎 ผ่านระบบ Zoom วันที่ 20 21 และ 22 สิงหาคม 2567 เวลา 19:00 น. – 21:00 น.
สแกน QR Code หรือคลิกที่ลิงก์นี้เพื่อลงทะเบียน: https://pdpathailand.info/tpdpa67

🚩 สอบถามเพิ่มเติม:
Facebook: https://m.me/tpdpa.or.th
Website: www.tpdpa.or.th
.
#สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย
#TPDPA #PDPAThailand #DBCGroup #PDPA #พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล #สคส #เสวนาออนไลน์ #FacebookLIVE #แบบประเมินองค์กร

TPDPA จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี แถลงผลการดำเนินงานและแสดงวิสัยทัศน์ในปีถัดไป

นอกจากนี้ยังมี ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ทิศทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย”
สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) จัดการประชุมสามัญประจำปี พ.ศ. 2567 เพื่อแถลงผลการดำเนินกิจการในปีที่ผ่านมา และทิศทางของสมาคมในปีถัดไป
 
และในวาระนี้มีปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ทิศทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย” โดย อ.เธียรชัย ณ นคร – ประธานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีประเด็นสำคัญในเรื่องของกฎหมาย และข้อบังคับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยคำสั่งทางปกครอง, การประกาศกฎหมายลำดับรองฉบับใหม่, การเปิดเผยสถิติการพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่อสาธารณะ หรือจะเป็นเรื่องของจุดสมดุลระหว่าง AI กับกฎหมาย PDPA และการซื้อขายข้อมูลอย่างถูกต้องกับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ทางคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำลังขับเคลื่อนให้สัมฤทธิ์ผล
Contact TPDPA

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA)

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ของสมาคม TPDPA
เพื่อแถลงผลการดำเนินงานและทิศทางของสมาคม

สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 เพื่อแถลงผลการดำเนินงานและทิศทางของสมาคมฯ เนื่องด้วยสมาคมฯ มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ณ วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. อาคารปฏิบัติการวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยในวาระนี้มีปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ทิศทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย” โดย อ.เธียรชัย ณ นคร

กำหนดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567

09.30 น. – 10.00 น. : ลงทะเบียน

10.00 น. – 10.30 น. : ปาฐกถาพิเศษ โดย นายเธียรชัย ณ นคร ประธานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง “ทิศทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย”

10.30 น. – 11.30 น. : ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567

วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ

วาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ

2.1 แถลงผลการดำเนินกิจการของสมาคมฯ

2.2 ทิศทางของสมาคมฯ ปี 2567 – 2568

วาระที่ 3 เพื่อพิจารณา

3.1 รับรองงบการเงิน

3.2 พิจารณาผู้ตรวจสอบบัญชีและค่าใช้จ่าย

3.3 แก้ไขตำแหน่งของกรรมการบริหารเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ

วาระที่ 4 อื่นๆ

ตอบข้อซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

11.30 น. – 12.00 น. : ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

12.00 น. : ปิดการประชุม 

หมายเหตุ: – กำหนดการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

อาคารวิศวกรรมอุตสาหการ ชั้น 10 ห้อง 71003 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) แขวงลาดยาว เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพฯ

Contact TPDPA

สรุปผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ความเป็นส่วนตัว, การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” เนื่องในวันข้อมูลส่วนบุคคลสากล International Data Privacy Day ปี 2567

⚠ เรื่องจริงเกี่ยวกับ PDPA ‼️ คนไทยรู้ว่ามี 87% แต่เข้าใจดีเพียงแค่ 3%
สรุปผลสำรวจพบว่าประชาชนกว่า 87% รู้ว่ามี พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, 6% เคยศึกษาข้อมูล, 3% มีความเข้าใจดี และ 2% ไม่ทราบเลย
PDPA Thailand และ สถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล (DDTI) ภายใต้การบริหารงานโดย บริษัท ดีบีซี กรุ๊ป จำกัด (DBC Group) และพันธมิตร ได้แก่ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย (SME Thai), สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, สมาคมผู้ดูแลเว็บไซต์และสื่อออนไลน์ไทย, สมาคมการค้าดิจิทัลไทย และ สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) รวมเรียกว่า “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” สรุปผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ความเป็นส่วนตัว, การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” เนื่องในวันข้อมูลส่วนบุคคลสากล International Data Privacy Day ปี 2567 ระหว่างวันที่ 9-25 มกราคม 2567 ผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ไปยังประชาชนกลุ่มต่างๆ กว่า 6,000 คน โดยมีคำถามที่น่าสนใจ ดังนี้
1. เพศ
2. ช่วงอายุ
3. ระดับการศึกษา
4. อาชีพ
5. ที่อยู่
6. พร้อมเปิดเผยข้อมูลของตนเองต่อไปนี้ในผ่านกิจกรรมใด
7. กิจกรรมใดที่ทำให้ยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคล
8. พิจารณาการให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับบุคคลหรือนิติบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่น
9. คิดว่าความเสี่ยงแบบใดที่กังวลมากที่สุด จากการให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับผู้อื่น
10. คิดว่าข้อมูลสามารถเปิดเผยแก่หน่วยงานหรือบุคคลอื่นได้หรือไม่
11. ตระหนักว่ามีการให้ข้อมูลส่วนบุคคลในกิจการใดบ้างตามกลุ่มต่างๆ
12. คิดว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการดูแลของหน่วยงาน จะได้รับการดูแล คุ้มครอง และปฎิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ดีเพียงใด
13. มีความตระหนักหรือมีความกังวล การให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับหน่วยงาน
14. หากมีเหตุการละเมิดหรือรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการดูแลของกิจการดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะดำเนินการอย่างไรกับข้อมูลส่วนบุคคล
15. มีความตั้งใจที่จะขอใช้สิทธิ์ในการลบ ยกเลิก ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลจากกิจการที่ได้ให้สิทธิในการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ อย่างไร
16. รู้ว่ามี พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA หรือไม่
ดาวน์โหลดผลสำรวจได้ที่ 👉 : https://pdpathailand.info/present-survey-pdpa

ขอเชิญร่วมฟังเสวนาออนไลน์ เรื่อง “International Data Privacy and Protection Day 2024” เนื่องในวันข้อมูลส่วนบุคคลสากล

📣 ขอเชิญร่วมฟังเสวนาออนไลน์ เรื่อง “International Data Privacy and Protection Day 2024” เนื่องในวันข้อมูลส่วนบุคคลสากล
📆 วันอาทิตย์ที่ 28 ม.ค. 2567
⏰ เวลา 13.30 – 15.30 น.
🎊 รับชมผ่าน Zoom Webinar @Invite Only
ฟรี ! ไม่มีค่าใช้จ่าย
🥳 พิเศษ !! ลงทะเบียนผ่าน Zoom Webinar @Invite Only รับฟรี ! ผลสำรวจของแบบสอบถาม “การตระหนักความเป็นส่วนตัวและสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล”
สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) ร่วมกับ PDPA Thailand ภายใต้การบริหารงานโดย บริษัท ดีบีซี กรุ๊ป จำกัด (DBC Group) ขอเชิญร่วมฟังเสวนาในประเด็นการตระหนักความเป็นส่วนตัวและสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องในวันแห่งข้อมูลส่วนบุคคลสากล เรื่อง “International Data Privacy and Protection Day 2024” มาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นไปพร้อมๆ กัน
เสวนาโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน PDPA และ DPO
🔵 ดร.สิทธินัย จันทรานนท์ ผู้อำนวยการสังกัดสำนักงานรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายบริหารงานกฎหมายและบริหารทั่วไป บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
🔵 ดร. อุดมธิปก ไพรเกษตร นายกสมาคม สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดีบีซี กรุ๊ป จำกัด (DBC Group)
🔵 อาจารย์สุกฤษ โกยอัครเดช เลขาธิการและประธานฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปรึกษาและสอบทาน บริษัท ดีบีซี กรุ๊ป จำกัด (DBC Group)
🔵 อาจารย์สันต์ภพ พรวัฒนะกิจ อุปนายกและประธานฝ่ายกฎหมาย สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) และทนายความหุ้นส่วนและผู้บริหาร บริษัท ดีบีซี กรุ๊ป จำกัด (DBC Group)
🔵 อาจารย์ไผท โฆษจันทร กรรมการและประธายฝ่ายส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) และที่ปรึกษาและวิทยากรสถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล (DDTI)
🔵 อาจารย์ณัฏฐ์ ธนวนกุล กรรมการและประธานฝ่ายพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) และที่ปรึกษาและวิทยากรสถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล (DDTI)
🔵 อาจารย์มยุรี ชวนชม กรรมการและประธานฝ่ายส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) และที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้านกฎหมายแรงงาน บริษัท ดีบีซี กรุ๊ป จำกัด (DBC Group)
สนใจสอบถามเพิ่มเติม :
📌 Website : www.tpdpa.or.th

ฟรี! เสวนา เรื่อง “การทำงานร่วมกันของ DPO กับ PDPMS: ยกระดับ ความเป็นเลิศด้าน Privacy & Data Protection”

ฟรี! เสวนา เรื่อง “การทำงานร่วมกันของ DPO กับ PDPMS: ยกระดับ ความเป็นเลิศด้าน Privacy & Data Protection”
.
เสวนาแบบเรียนรู้รวบยอด PDPA กับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำเรื่อง PDPA ของประเทศไทย ตอบทุกข้อสงสัย ก้าวทันทุกเหตุการณ์และข้อกฎหมาย ลงมือปฏิบัติได้อย่างสอดคล้อง เปลี่ยนความเสี่ยงของผลกระทบทางกฎหมายและชื่อเสียงขององค์กรให้เป็นความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการทำงานเชิงรุกร่วมกันของ DPO (Data Protection Officer) กับระบบการจัดการด้านการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัว (PDPMS)
.
พบกัน
📆 วันที่ 21 กันยายน 2566
⏰ เวลา 13.00 น. – 16.15 น.
📌 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพ ห้องวอเตอร์เกท บอลรูม 1-2 ชั้น 6
📎 จำนวนจำกัด ไม่เกิน 3 ท่าน / บริษัท
.
สนใจสอบถามเพิ่มเติม
📞 คุณวราภรณ์ จตุพัฒนาพงศ์ เบอร์ 02-6171727 ต่อ 395
📞 คุณนัคมน ภู่ทอง เบอร์ 02-6171727 ต่อ 308
📞 คุณจรัสศรี บุญจันทร์ เบอร์ 02-6171727 ต่อ 303
.
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 20 กันยายน 2566 เท่านั้น
ลงทะเบียน https://app.masci.or.th/train?t=1870